การสร้างฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ แต่ละต่อมจะต้องมีสิ่งเร้าที่เฉพาะมากระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมน และฮอร์โมนแต่ละชนิด จะต้องควบคุมการทำงานของอวัยวะเป้าหมายอย่างจำเพาะเจาะจงด้วย หากต่อมไร้ท่อรับสัญญาณจากสิ่งเร้าให้หลั่งฮอร์โมน โดยไม่จำกัดอวัยวะเป้าหมายถูกกระตุ้นให้ทำงานตลอดเวลา ทำให้เกิดผลเสียเป็นอันตรายต่อชีวิตร่างกาย จึงจำเป็นต้องมีระบบควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อด้วยปริมาณของฮอร์โมน โดยการหลั่งฮอร์โมนที่ถูกควบคุมด้วยวิธีการควบคุมแบบย้อนกลับ ซึ่งมี 3 ลักษณะ คือ การควบคุมแบบป้อนกลับยับยั้ง ควบคุมแบบป้อนกลับกระตุ้น และการควบคุมด้วยระดับสารเคมีอื่นๆ ในเลือด

การควบคุมแบบป้อนกลับกระตุ้นโดยฮอร์โมนบางชนิดที่หลั่งออกมา จะมีผลไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไร้ท่อเช่น ขณะคลอดศรีษะของทารกจะขยาย ปากมดลูก ให้กว้างออกหน่วยรับความรู้สึกบริเวณปากมดลูกจะส่งกระแสประสาทไปยังต่อมใต้สมองส่วนหลัง ให้หลั่งออกซิโทซินกระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ให้ดันทารกออกมายิ่งปากมดลูกกว้างขึ้นก็ยิ่งกระตุ้นการหลั่งออกซิโทซินมากขึ้น จนกระทั่งการคลอดออกมาแล้วการหลั่งฮอร์โมนออกซินก็หยุดลง ดังภาพ
